เชื่อกันว่า
คำราชาศัพท์เป็นถ้อยคำที่สร้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่คำดั้งเดิมอย่างคำพื้นฐานของภาษา
เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการยกย่อง และส่งเสริมพระเกียรติยศ
ดังนั้นคำราชาศัพท์จึงจำเป็นต้อง สร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังที่ โสภา
วิรยศิริ (๒๕๓๔ : ๑๓๗ - ๑๓๘) กล่าวไว้ดังนี้
๑. ยืมคำภาษาอื่นมาใช้ เช่น บาลี สันสกฤต
และเขมร ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ จำพวก คือ คำนาม สรรพนาม และคำกริยา
๒. นำคำภาษาอื่นมาสร้างใหม่ตามแบบคำประสม
๓.
ถ้าจะนำไทยมาใช้ก็ต้องมีวิธีตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์ขึ้นมาด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
๓.๑ คำไทยประสมกันได้แก่ รับสั่ง
ห้องเครื่อง เครื่องต้น ฯลฯ
๓.๒
คำไทยประสมกับคำอื่นที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น น้ำพระเนตร มูลพระชิวหา
(ลิ้นไก่) บั้นพระองค์ (บั้นเอว) พานพระศรี รองพระบาท ถุงพระหัตถ์ ถุงพระบาท
น้ำพระทัย ทอดพระองค์ เข้าพระที่ ทอดพระเนตร สนพระทัย เอาพระทัยใส่ ฯลฯ
๓.๓
คำที่เป็นคำไทยจะต้องมีคำพระหรือพระราชนำหน้าเพื่อตกแต่งให้เป็น ราชาศัพท์ เช่น
พระเจ้า (หัว เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน) พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) พระพี่นาง พระเต้า
พระอู่ พระสาง พระแท่น พระเก้าอี้ พระตะพาบ (หม้อน้ำ) พระยี่ภู่ (ที่นอน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น