ม.ล.ปีย์ มาลากุล (๒๕๒๗ : ๑๗๙ - ๑๘๒) ได้ให้ข้อสังเกตและรวบรวมการใช้ราชาศัพท์ที่ไม่ถูกต้องที่พบเห็นกันอยู่เสมอไว้ ดังนี้
“ถวายการต้อนรับ”
“ถวายความจงรักภักดี” ชอบใช้กันมาก คำนี้ผิด
ภาษาไทยมีอยู่แล้ว คือ “เฝ้าฯ รับเสด็จ” หรือ “รับเสด็จ” เช่น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปที่ใด มีราษฎรมาชุมนุมหนาแน่นก็ใช้ว่า “ราษฎรมาเฝ้าฯ รับเสด็จฯ อย่างหนาแน่น” ความจงรักภักดีเป็นของที่ถวายกันไม่ได้
เป็นสิ่งที่มีประจำตน จึงควรใช้ว่า “มีความจงรักภักดี”
หรือ “จงรักภักดี”
คำกิริยาใดที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว
เช่น เสด็จ, เสวย, ตรัส ห้ามใช้คำ “ทรง” นำหน้า จะใช้ทรงเสวย ทรงเสด็จ ทรงตรัส ไม่ได้
แต่ถ้าคำกิริยานั้นเป็นคำไทย เช่น ถือ, จับ, วาด เมื่อจะใช้เป็นราชาศัพท์เติม “ทรง” ข้างหน้าได้ เช่น ทรงถือ, ทรงจับ, ทรงวาด เป็นต้นการใช้ “พระราช” หรือ “พระ” นำหน้า
ให้ถือหลักว่า เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้า-อยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ใช้ “พระราช” นำหน้า เช่น พระราชหัตถเลขา พระราชโทรเลข
แต่ถ้าเป็นอวัยวะก็ใช้เพียง “พระ” นำหน้า
เช่น พระหัตถ์ พระกร พระพาหา คำนามที่ไม่มีราชาศัพท์ให้ใช้ “พระ”
นำหน้า เป็นราชาศัพท์ เช่น พระเก้าอี้ เป็นต้น
การใช้คำ
“พระบรม” นำหน้านั้น
ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย
(พระบรมนามาภิไธย) พระบรมราโชวาท สำหรับสมเด็จ-พระบรมราชินี ตัดคำว่า “บรม” ออก เช่น พระนามาภิไธย พระราโชวาท
ถ้าจะกล่าวว่าพระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถทรงลงชื่อ ก็ต้องใช้ว่า
พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงลงพระปรมาภิไธยและ
พระนามาภิไธย
พระราชวงศ์ที่ทรงฐานันดรศักดิ์มีพระนำหน้า
(พระวรวงศ์เธอ, พระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ) ใช้ “พระ” นำหน้าราชาศัพท์ เช่น พระหัตถ์ พระกร ถ้าเป็นชั้นหม่อมเจ้า ไม่ต้องมี “พระ” นำหน้า ใช้เพียงราชาศัพท์เฉยๆ เช่น หัตถ์ กร
เป็นต้น
“พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า……….…….ประชวรพระโรคพระหทัย
สิ้นพระชนม์ พระราชทานน้ำสรงพระศพที่วัด……………..”
“หม่อมเจ้า…………………...ประชวรโรคหทัยถึงชีพิตักษัย
พระราชทานน้ำสรงศพที่วัด…………..”
เมื่อกล่าวถึงแสดงใด
ๆ ถวายทอดพระเนตร มักจะใช้ว่า “แสดงหน้าพระพักตร์” ซึ่งผิด ต้องใช้ว่า “แสดงเฉพาะพระพักตร์” หรือ “แสดงหน้าที่นั่ง”
เมื่อประมุขต่างประเทศมาเยือนประเทศไทยหรือเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศใด
มักใช้คำว่า “ราชอาคันตุกะ” หรือ “อาคันตุกะ” ผิด คำนี้จะมีคำ “ราช”
นำหน้าหรือไม่แล้วแต่บุคคล แขกของบุคคลที่เป็นพระมหากษัตริย์ใช้ ราช นำหน้า
ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหา-กษัตริย์ก็ไม่ต้องมี ราช นำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเป็นแขกของผู้ใด
ถ้าผู้นั้นเป็นพระมหากษัตริย์ ก็ใช้ว่า “ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะ”
เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ”
ถ้าเป็นแขกของประธานาธิบดีจะใช้ว่า
ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของประธานาธิบดีไม่ได้
เพราะประธานาธิบดีไม่ใช่พระมหากษัตริย์ ต้องใช้ว่าทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น